อาการปวดเมื่อยตัว สาว 40+ เมื่อสูงอายุขึ้นร่างกายก็ย่อมเกิดความเสื่อม ความสดใส และร่างกายที่เคยกระฉับกระเฉงก็ทำงานได้ไม่เหมือนเดิมเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตที่ทุกคนต้องได้ประสบ. เพราะมันเป็นเหตุการณ์โดยธรรมชาติ ที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ อาการปวดเมื่อยทั้งตัว แบบไม่มีสาเหตุ ของสาว40+ ตามหลักการแพทย์ คือสัญญาณของกระบวนการหมดประจำเดือน ซึ่งวิทยาการทางการแพทย์ในขณะนี้ยังไม่สามารถหาวิธี ยับยั้งการหมดประจำเดือนได้.
สารบัญ
อาการหมดประจำเดือน อาการปวดเมื่อยตัว สาว 40+
โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงไทยเราจะเริ่มหมดประจำเดือนกันเมื่ออายุประมาณที่ 50 ปี แต่กระบวนการเปลี่ยนแปลงการสร้างฮอร์โมนจะเริ่มในวัยกลางคน ช่วงอายุประมาณ 35 ปี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป จนกระทั่งอายุประมาณ 40 ปี ระดับฮอร์โมนจะแกว่งอย่างชัดเจน (ฮอร์โมนทั้งเพศหญิงเรียกว่า Estrogen and Progesterone) (ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone) . เรียกว่า อาการวัยทอง โดยอาการวัยทองของแต่ละคนก็มากน้อยแตกต่างกันไป เมื่อระดับฮอร์โมนแกว่งจน แสดงอาการผิดปกติต่างๆ ให้เราสังเกตที่พบได้บ่อยคือ
- ประจำเดือนเริ่มไม่ปกติ
- ช่องคลอดแห้ง
- ความรู้สึกทางเพศลดลง
- มีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว
- อ่อนเพลย
- รู้สึกร้อนวูบวาบ
- เหงื่อออกมาก หรือ หนาวสั่นได้ง่าย
- อารมณ์เสียง่าย
- ซึมเศร้า
- นอนไม่หลับ
และ ก็ ตามมา ด้วย อาการกระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจ จนถึง สมองเสื่อม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม มี 2 อาการที่เป็นอันตรายในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน คือ
- ความเสี่ยงต่อ โรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น
- มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุน
อันเป็นผลมาจาก ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง เมื่อใครที่หมดประจำเดือน ประจำเดือนไม่มาแล้ว จึงควรตรวจสุขภาพ และ ตรวจมวลกระดูกเพื่อดูภาวะกระดูกพรุน. ผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนถึง 40% ส่วนผู้ชายมีความเสี่ยงเพียง 10% เท่านั้น เพราะผู้หญิงมีมวลกระดูกน้อยกว่า ดังนั้นเราจึงควรป้องกันด้วยการตรวจเช็กสุขภาพร่างกายและกระดูก ว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ แนะนำว่าผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี และผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปี ขึ้นไป ควรตรวจความหนาแน่นกระดูกอย่างสม่ำเสมอ เพราะโรคนี้เป็นภัยเงียบที่หลายคนไม่รู้ตัวจนกว่ากระดูกหักถึงจะรู้ว่าป่วยเป็นโรคนี้ นี่คือ โปรแกรมตรวจมวลกระดูก พร้อมราคาทั้งโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชน
ปวดข้อ เพราะ ข้อเสื่อม หรือ เป็นเพราะ อาการวัยทอง กันแน่นะเรา?
อาการปวดเมื่อยตัว สาว 40+ เมื่อเวลาผ่านไปอายุก็เพิ่มมากขึ้น ความแข็งแรงของกระดูกก็ย่อมต้องเสื่อมลง การดูแลใส่ใจเรื่องนี้ต้องมีมากขึ้น. แต่คนเราโดยส่วนใหญ่มักละเลย ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะมักคิดว่าเป็นส่ิงที่ไกลเกินตัว มักจะลืมนึกและไม่ค่อยจะรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกายกว่าจะรู้ตัวก็สายเกินแก้ไปเสียแล้ว. ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ต้องเผชิญกับโรคที่เกี่ยวข้องกับปริมาณฮอร์โมนทางเพศที่ลดลง.
อาการที่เกิดจากความเสื่อม ที่พบได้บ่อยที่สุดและสร้างความหงุดหงิด คงไม่พ้น ” อาการปวดข้อ “ ซึ่งผู้เขียนกำลังเผชิญกับอาการนี้อยู่เช่นกัน (ผู้เขียนเป็นผู้หญิง เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2521 )
อาการปวดข้อ โดยมากเป็นผลมาจากการ อักเสบของข้อ จนทำให้เกิดอาการปวดตามมา โดยอาการปวดข้อเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น
- อุบัติเหตุ
- โรคเกาต์
- โรครูมาตอยด์
- โรคข้อเสื่อม หรือ
- จากภาวะวัยทอง
การหาสาเหตุที่แท้จริงนั้น นอกจากจะสังเกตอาการของตัวเราเองแล้ว อาจไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเบื้องต้น และ อาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรืออื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อรักษาให้ตรงจุด โดยโรคข้อที่พบได้บ่อยในวัยทอง หรือวัย 40-50 อัพ นั้นได้แก่ โรคข้อเสื่อม และ อาการปวดข้อจากวัยทอง.
โดยอาการปวดข้อจากโรคข้อเสื่อม และ อาการวัยทองนั้น แท้จริงแล้วมีความเชื่อมโยงกันอยู่พอควร เนื่องจากเมื่อเรามีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศและปริมาณน้ำหล่อเลี้ยงข้อได้ลดลง ส่งผลให้ร่างกายมี อาการปวดเมื่อย หากละเลยอาการเหล่านี้ และ ปล่อยทิ้งไว้นานๆ ไป โดยไม่ใส่ใจที่จะตรวจเช็ค ไม่ดูแลรักษา ก็จะกลายเป็นอาการข้อเสื่อมที่รุนแรงขึ้นได้ในอนาคต โดยเบื้องต้นพวกเราควรรับประทานผลิตภัณฑ์ ที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศของร่างกาย ก่อนที่จะเกิดความเสื่อมของข้อจนทำให้เกิดเป็น โรคข้อเสื่อม. อาการปวดเมื่อยตัว สาว 40+
“โรคข้อเสื่อม” เกิดจากความไม่สมดุลในการสร้าง และการทำลายของกระดูกภายในข้อ ทำให้กระดูกอ่อนบนผิวข้อถูกทำลายอย่างช้าๆ และเกิดการสึกกร่อน น้ำไขข้อลดลง ทำให้ข้อฝืด ใช้งานข้อไม่คล่อง มีเสียงดังในข้อ ปวดหรือเจ็บในข้อ โดย เฉพาะเวลาเคลื่อนไหวใช้งานข้อมากกว่าปกติ หรือ เวลา ลงน้ำหนักเข่าขณะเคลื่อนไหว เช่น เดิน หรือ ขึ้น ลงบันได.
อาการข้อเสื่อม ข้ออักเสบ เป็นอาการที่ยากจะหลีกเลี่ยง ในผู้หญิงวัยทองและผู้ที่มีอายุเพิ่มขึ้น. โดยสาเหตุของโรคข้อเสื่อม มีความสัมพันธ์โดยตรงกับอายุ และ เพศ พบว่าเมื่ออายุมากขึ้นความสามารถในการซ่อมแซมกระดูกอ่อนก็จะลดลง และ ปริมาณน้ำเลี้ยงในไขข้อก็ผลิตได้ลดลงเช่นกัน.
การบรรเทาอาการและรักษาดูแลตัวเองได้ในเบื้องต้น ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น
- ให้นั่งเก้าอี้แทนการนั่งพับเพียบนานๆ
- พยายามลดน้ำหนักในคนที่มีน้ำหนักเกินมาตราฐาน
- ออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ช่วยให้รับน้ำหนักข้อเข่าได้ดีขึ้น
รวมถึงการรับประทานอาหาร ที่ดีช่วยส่งเสริมข้อเข่า เช่น
ประกอบไปด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ ในปริมาณที่สูง จึงช่วยลดการอักเสบ. นอกจากนี้แล้วยังมีพืช ตระกูลถั่ว ถั่วแดง พีนัท ถั่วเขียว ยังประกอบไปด้วยโปรตีน และ กรดไขมันที่จำเป็นในการสร้างเสริมข้อเข่า.
ในผู้ที่เริ่มมีอาการปวดตามข้อ ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง มีแร่ธาตุต่างๆ ที่ร่างกายต้องการให้ครบถ้วน เช่น
- สังกะสี แมกนีเซียม รวมถึง วิตามินต่างๆ เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ ลดอาการและป้องกันการเกิด โรคกระดูกพรุน อาการข้อเสื่อม และ ข้ออักเสบในอนาคต
12 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูง
1.หอยนางรม
หอยนางรม ถือเป็นอาหารชนิดแรกที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูงเหมาะแก่การเลือกมาประกอบอาหารหรือจะรับประทานสดๆ ราดน้ำจิ้มซีฟู้ดส์รสแซ่บ ซึ่งก็มีไม่น้อยสำหรับคนที่ชอบทานกัน โดยหอยนางรมน้ำหนัก 100 กรัม มีสังกะสีอยู่ประมาณ 75 มิลลิกรัม
2.ตับ
ในอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ประเภทตับไม่ว่าจะเป็นตับไก่ ตับหมู ตับลูกวัวในปริมาณที่เท่ากันจะมีแร่ธาตุสังกะสีอยู่ประมาณ 4 – 12 มิลลิกรัม โดยเฉพาะตับลูกวัวปริมาณ 100 กรัม มีธาตุสังกะสีถึง 12 มิลลิกรัม เลยทีเดียวค่ะ
3.เมล็ดแตงโม
ในเมล็ดแตงโมสีดำๆ ที่บางทีก็เป็นอาหารว่างกินเล่นๆ ตามซูปเปอร์มาเก็ตก็มีประโยชน์สำหรับคนที่มองหาขนมทานเล่นที่ให้ธาตุสังกะสีสูง โดยเมล็ดแตงโมปริมาณ 100 กรัม จะมีธาตุสังกะสีอยู่ประมาณ 10 มิลลิกรัมค่ะ
4.จมูกข้าว
จมูกข้าวก็มีประโยชน์นะมีแร่ธาตุมากมายโดยเฉพาะธาตุสังกะสีอยู่สูงถึง 12-17 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัมกันเลยจ้า
5.เนื้อสัตว์
อาหารที่ให้โปรตีนอย่างเนื้อสัตว์ก็มีธาตุสังกะสีอยู่สูงเลยทีเดียวค่ะ อย่างเช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแพะและเนื้อแกะล้วนแต่ให้สังกะสีเยอะพอกันอยู่ที่ประมาณ 4-10 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัมค่ะ
6.เมล็ดฟักทอง
เมล็ดฟักทองก็เป็นอาหารทานเล่นอีกอย่างที่ให้แร่ธาตุสังกะสีที่สูงถึง 7-10 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม เป็นอีกตัวเลือกในการเลือกรับประทานเพื่อเพิ่มแร่ธาตุให้กับร่างกายค่ะ
7.เมล็ดงา
เมล็ดงาที่ส่วนใหญ่ทางบ้านเราไม่ค่อยนิยมมาทำอาหารมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นของหวาน เครื่องดื่ม หรือนำมาโรยหน้าอาหารบ้างประปราย โดยเมล็ดงามีธาตุสังกะสีอยู่ถึว 7.75 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม
8.เห็ด
เห็ดก็ถือได้ว่าเป็นวัตถุดิบที่คนไทยชอบนำมาประกอบอาหารและมีสารพัดประโยชน์ที่จะกล่าว อีกทั้งยังมีมีแร่ธาตุสังกะสีอยู่สูงถึง 7.66 มิลลิกรัม ในปริมาณ 100 กรัมค่ะ
9.มะม่วงหิมพานต์
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์มีแร่ธาตุต่างๆ มากมาย รวมถึงมีแร่ธาตุสังกะสีอยู่ด้วย มะม่วงหิมพานต์ถือเป็นของว่างทานเล่นที่มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย ไหนจะนำมาประกอบอาหารได้อีก สารพัดประโยชน์และอร่อยทานได้เพลินอย่างนี้ มีแร่ธาตุสังกะสีอยู่ถึง 5.35 มิลลิกรัมเลยแหละ
10.ช็อกโกแลตหรือโกโก้
ผงช็อกโกแลตที่มีปริมาณโกโก้สูงก่อนที่จะนำไปปรุงแต่งถือว่ามีปริมาณแร่ธาตุสังกะสีอยู่สูงลิ่วเลยล่ะค่ะ ซึ่งปริมาณช็กโกแลต 100 กรัม มีปริมาณแร่ธาตุสังกะสีอยู่ถึง 9.6 มิลลิกรัมเลยทีเดียวค่ะ
11.ถั่วลิสง
จะสังเกตุเห็นว่าส่วนใหญ่แล้วอาหารประเภทธัญพืชและพืชตระกูลถั่วจะมีแร่ธาตุอย่างสังกะสีอยู่เยอะ เพราะฉะนั้นถั่วลิสงก็เช่นกันค่ะ โดยถั่วลิสงปริมาณ 100 กรัม มีแร่ธาตุสังกะสีอยู่ 6.6 มิลลิกรัมค่ะ
12.ไข่แดง
ไข่แดงก็มีแร่ธาตุสังกะสีอยู่พอควรค่ะ โดยปริมาณอาจจะมีไม่มากเท่าเนื้อสัตว์ต่างๆ แต่ก็ยังถือว่าไข่เป็ฯอาหารหลักของคนไทยเช่นกันจึงมีการรับประทานบ่อยๆ โดยในไข่แดงจะมีธาตุสังกะสีอยู่ประมาณ 4.93 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม
ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุแมกนีเซียมสูง
แมกนีซียมเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของ
ลูกน้อย เพราะนอกจากแมกนีเซียมจะช่วยเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง รักษาจังหวะการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ และ
เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันแล้ว ยังช่วยพัฒนากล้ามเนื้อและระบบประสาทอีกด้วย
แมกนีเซียมพบมากในถั่วและพืชตระกูลถั่ว รวมถึงในนมและผักผลไม้บางชนิด ตัวอย่างเช่น
• มะม่วงหิมพานต์อบแห้ง 1 ออนซ์ มีแมกนีเซียมประมาณ 75 mg
• ถั่วลิสงอบแห้ง 1 ออนซ์ มีแมกนีเซียมประมาณ 50 mg
• ถั่วเหลืองสุก ¼ ถ้วย มีแมกนีเซียมประมาณ 37 mg
• ผักโขมสุก ¼ ถ้วย มีแมกนีเซียมประมาณ 37 mg
• ปลาตาเดียว (Halibut) 1 ออนซ์ มีแมกนีเซียมประมาณ 30 mg
• เนยถั่วชนิดเนื้อละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ มีแมกนีเซียมประมาณ 25 mg
• ลูกเกด ¼ ถ้วย มีแมกนีเซียมประมาณ 25 mg
• ขนมปังโฮลวีท 1 แผ่น มีแมกนีเซียมประมาณ 25 mg
• ถั่วตาดำ (Black-eyed peas) ¼ ถ้วย มีแมกนีเซียมประมาณ 22 mg
• โยเกิร์ตพร่องมันเนยรสธรรมชาติ ½ ถ้วย มีแมกนีเซียมประมาณ 22 mg
• ข้าวกล้อง ¼ ถ้วย มีแมกนีเซียมประมาณ 20 mg
• ถั่วเลนทิล (Lentil) ¼ ถ้วย มีแมกนีเซียมประมาณ 17 mg
• เนื้ออะโวคาโด ¼ ถ้วย มีแมกนีเซียมประมาณ 17 mg
• ถั่วแดง, ถั่วลาย (Pinto beans) ¼ ถ้วย จะมีแมกนีเซียมประมาณ 17 mg
• นมช็อกโกแลต ½ ถ้วย จะมีแมกนีเซียมประมาณ 16 mg
• กล้วย (ขนาดกลาง) ½ ลูก จะมีแมกนีเซียมประมาณ 15 mg
• นมพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย ½ ถ้วย จะมีแมกนีเซียมประมาณ 13.5 mg
• รำข้าวสาลี 1 ช้อนชา จะมีแมกนีเซียมประมาณ 7 mg
• จมูกข้าวสาลี 1 ช้อนชา จะมีแมกนีเซียมประมาณ 5 mg
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขระบุว่าปริมาณแมกนีเซียมที่ควรได้รับสำหรับเด็ก มีดังนี้
• อายุ 1-3 ปี : 60 มิลลิกรัมต่อวัน
• อายุ 4-5 ปี : 80 มิลลิกรัมต่อวัน
• อายุ 6-8 ปี : 120 มิลลิกรัมต่อวัน
การได้รับแมกนีเซียมในปริมาณที่มากเกินไปนั้นทำให้เกิดอันตรายได้ โดยอาการเบื้องต้นที่พบส่วนมาก ได้แก่ ปวดท้อง
และท้องเสีย ในบางรายที่รุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “แมกนีเซียมเป็นพิษ” ได้
ขอบคุณที่มาจาก http://www.nestlebaby.com/th/parenting/family_life/the_importance_of_magnesium/
ขอบคุณภาพจาก www.dietandhealths.com
วิตามินที่ร่างกายต้องการ
1.Vitamin A : ร่างกายมีความต้องการปริมาณของวิตามินเอจำนวน 800 ไมโครกรัม เพื่อไปช่วยเสริมบำรุงในเรื่องของการมองเห็น สายตา กระดูก ฟัน เหงือก หรือแม้แต่ในเรื่องการอักเสบของผิว จุดด่างดำ โรคเกี่ยวกับไทรอยด์ รวมถึงระบบทางเดินหายใจ วิตามินเอ ก็มีส่วนช่วยเสริมบำรุงได้เช่นกัน สำหรับอาหารที่มีวิตามินเอเป็นองค์ประกอบนั้น มีอยู่หลายชนิดเลยล่ะค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ไข่ นม ตับ ผลไม้ที่มีสีส้ม แดง เช่น มะละกอสุก กระเจี๊ยบ นอกจากนี้หากรู้สึกว่าร่างกายได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอจากการรับประทานอาหารในแต่ละวัน ก็สามารถรับประทานอาหารเสริมเป็นตัวช่วย
2.Vitamin B 1: ร่างกายมีความต้องการวิตามินบี 1 ในปริมาณ 1.5 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งมีมากในอาหารจำพวก ข้าวซ้อมมือ เนื้อหมู ถั่ว ตับ รำข้าว ประโยชน์สำคัญของวิตามินบี 1 คือ ช่วยให้ระบบประสาททำงานสัมพันธ์กัน ป้องกันโรคเหน็บชา และเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานได้ดีขึ้น
3.Vitamin B2 :ร่างกายมีความต้องการวิตามินบี 2 ในปริมาณ 1.7 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งมีมากในอาหารประเภท เนื้อปลา นมเปรี้ยว ผักใบเขียว เป็นต้น ประโยชน์ของวิตามินบี 2 คือ ช่วยให้ผมและเล็บแข็งแรง ป้องกันโรคปากนกกระจอก ช่วยให้ผิวไม่แห้งแตกและช่วยให้การเจริญเติบโตในเด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
4.Vitamin B 6 : ร่างกายมีความต้องการวิตามินบี 6 ในปริมาณ 2 มิลลิกรัม ซึ่งมีมากในอาหารประเภทจำพวกอกไก่งวง ปลาทูน่า อะโวคาโด้ ลูกพรุนแห้ง เมล็ดทานตะวันและอกไก่ เนื้อวัวไม่ติดมัน กล้วย ผักโขม เป็นต้น ประโยชน์ของวิตามินบี 6 ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ . ในร่างกาย ช่วยสร้างกรดอะมิโน สร้างโปรตีนและการทำงานของเซลล์ ช่วยสร้างฮีโมโกบิลและสารที่จำเป็นในการสื่อสารทางประสาท
5.Vitamin B12 :วิตามินบี 12 มีความสำคัญต่อร่างกายเช่นกัน เพราะร่างกายมีความต้องการในปริมาณ 2 ไมโครกรัมต่อวัน ในหนึ่งวันเราจำเป็นต้องทานอาหารจำพวก หอยประเภทต่างๆ ปลาทะเลน้ำลึก เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อหมู นม โยเกิร์ตและเนยแข็ง. ประโยชน์ของอาหารที่ประกอบไปด้วยวิตามินบี 6 คือ ช่วยสำหรับผู้มีปัญหาเรื่องโลหิตจาง เหนื่อยง่าย มีอาการชานิ้วมือนิ้วเท้า เป็นต้น
6.Vitamin C :วิตามินซีคืออีกสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายควรได้รับในปริมาณ 60 มิลลิกรัมต่อวัน อาหารที่ประกอบด้วยวิตามินซี คือ อาหารจำพวกผักและผลไม้ เช่น ผักชี ผักคะน้า ผักบุ้ง กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ใบมะระ มะนาว ส้ม มะละกอ ส้มโอ สตอเบอร์รี่ เป็นต้น วิตามินซีมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายโดยเฉพาะ เป็นสารต่อต้านมะเร็ง บำรุงสายตาป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ช่วยบำรุงธาตุในอาหาร ทำให้เจริญอาหาร
7.Vitamin D :ร่างกายมีความต้องการวิตามินดีในปริมาณ 5 ไมโครกรัมต่อวัน เพราะฉะนั้นเราควรเลือกรับประทานอาหารจำพวก น้ำมันตับปลาไข่แดง เนื้อไก่ เห็ดหรือชีส เป็นต้น นอกจากนี้ร่างกายของเรายังสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองโดยใช้ตัวกระตุ้นอย่างแสงแดดอ่อนๆ ในยามเช้า. ส่วนประโยชน์ของวิตามินดีที่มีผลต่อร่างกายนั้น จะช่วยเสริมระบบการทำงานของสมองให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ไม่หลงลืมง่าย แถมยังช่วยลดภาวะอาการซึมเศร้าต่างๆ ได้ดีอีกด้วย
8.Vitamin E :ร่างกายมีความต้องการวิตามินอีในปริมาณ 10 มิลลิกรัมต่อวัน ในหนึ่งวันเราจะต้องรับประทานอาหารจำพวก ถั่วอัลมอลด์ บล็อกโคลี น้ำมันคาโนล่า กีวี่ มะม่วง ผักโขม เมล็ดทานตะวัน มะเขือเทศ เป็นต้น คุณประโยชน์ของวิตามินอีคือ ป้องกันการถูกทำลายของสารอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดตามผนังร่างกาย เพราะฉะนั้นเราควรรับประทานวิตามินอีในปริมาณที่พอเหมาะใน 1 วัน
9.Vitamin K :ร่างกายมีความต้องการวิตามินเคในปริมาณ 80 ไมโครกรัมต่อวัน อาหารที่ประกอบด้วยวิตามินเคคืออาหารจำพวก ถั่วเหลือง ต้นหอม น้ำมันมะกอก หน่อไม้ฝรั่ง พริกผง แตงกวาใบโหระพา ผลิตภัณฑ์นม ประโยชน์ต่างๆ ของวิตามินเค คือ ป้องกันการตกเลือด ช่วยให้แผลหายเร็ว.
เรื่องสุขภาพนี่คงต้องพูดกันยาว เพราะทุกส่วนมีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันทั้งสิ้น นี่แค่เรื่องปวดกระดูกนะค่ะ. ยาวมาเรื่องโภชนการไปด้วย. ยังมีเรื่องที่ต้องศึกษาอีกเยอะในเรื่องเกี่ยวกับระบบร่างกาย ทำไมเราถึงเจ็บถึงป่วย ถึงได้ปวด ถึงได้เมื่อย ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดขา นิ้วล็อค ต้องศึกษาไว้เพื่อที่เราจะได้ดูแล ตัวของเราเองได้ในเบื้องต้น. รู้ถึงสาเหตุ หาวิธีบำรุง แต่เนิ่นๆ เตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่ความเสื่อม เพราะไม่มีสิ่งไหน ไม่เสื่อม มันเป็นสัจธรรมของชีวิต.