fbpx

โครงสร้างของกระดูก และ โรคกระดูกบางกระดูกพรุน

ว่าด้วยเรื่องโครงสร้างของกระดูก และโรค กระดูกบางกระดูกพรุน โครงสร้างของมนุษย์ออกแบบมาให้ใช้กำลังกาย มากกกว่ากำลังสมอง คนสมัยก่อน ไม่มีโทรศัพท์ การคมนาคม ใช้เกวียน ใช้วิธีเดิน จะเห็นได้ว่าคนสมัยก่อนรุ่นทวด จะไม่ค่อยเป็นโรคกระดูกเลย เพราะ การเดิน การได้รับแสงแดด ทุกอย่างได้มาจากธรรมชาติให้มา แต่เราทุกวันนี้ใช้แรงกายน้อย แรงกายมันสัมพันธ์กับการสร้างกระดูก

ใช้แรงกายน้อย ใช้สมองเยอะ ฟังดูเหมือนจะดูดี ใช้สมองเยอะ เป็นปัญญาชน แล้วใช้สมองไปกับอะไร ? ใช้ไปกับการดูเฟส ใช้ไปกับการบ่น รับข่าวสารมากมายจากหลายทิศทาง มันทำให้สมองทำงานหนักแบบไม่รู้ตัว ทำให้สมองและสภาพจิตใจเราเสียไปกับเรื่องไร้สาระบ้าง เรื่องไม่จริงบ้าง. แล้วสภาพจิตใจเสีย ทำให้ เลือด เป็นกรด เครียด โกรธ โมโห กังวล กลัว สร้าง กรดในเลือด ทำให้เลือดอยู่ไม่ได้ เกิดปัญหา ทำให้เลือดสลายแคลเซียมออกมาเพื่อ รักษาสมดุลกับกรด. ทุกวันนี้เราป่วยด้วยอารมณ์กันเยอะ คุณภาพอาหารไม่ได้ด้วย.

ย้อนกับมาดู เรื่องกระดูก ว่ากระดูกเขาจะสร้างเร็วในช่วงวัยรุ่น เห็นได้จากการเจริญเติบโต ช่วงวัยรุ่นความสูงจะรวดเร็ว พอถึง จุดๆนึง จะหยุด

กรณี เด็กผู้หญิง ความสูงกับการสร้าง กระดูกจะสัมพันธ์กับฮอร์โมน . ตัวอย่าง ในเด็กผู้หญิงเมื่อมีประจำเดือน ตอนนั้น กระดูกจะสร้างในแนวสูง พอ เด็กผู้หญิงมีประจำเดือน กระดูกจะถูกสร้างในแนวขวาง เพราะฉะนั้น เด็กที่เป็นประจำเดือนเร็วจึงเตี้ย เด็กที่เป็นประจำเดือนช้า ก็จะสูง มันจะสัมพันธ์กับฮอร์โมน.

 กระดูกสร้างด้วยอะไร ?

เราจะได้ยินว่ากระดูกสร้างด้วยแคลเซียม แต่ความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่แคลเซียมตัวเดียว แคลเซียม จะเข้าร่างกายเราไม่ได้เลย ถ้าขาดวิตามินดี วิตามินดี ที่ดีที่สุดและไม่เป็นพิษเป็นภัย และร่างกายรับมาใช้ได้ดีคือ วิตามินดีที่มาจากแสงแดด การได้รับแสงแดดทำให้ร่างกายและจิตใจเราสดชื่น ประเทศไหนไม่ค่อยมีแดด คนในประเทศเขาจะหดหู่ประชากรซึมเศร้า ฆ่าตัวตายกันในอัตราสูง เพราะ สาร เซโลทานิน ไม่หลั่ง  แสงแดดสร้าง เซโลทานิน.

วิตามินดี จะดึง แคลเซียมเข้าเลือด แคลเซียมในเลือดจะเข้ากระดูกไม่ได้ ถ้าไม่มี แมกนีเซียม . แมกนีเซียมจะเป็นตัวดึงแคลเซียมเข้ากระดูกอีกทีหนึ่ง

กระดูกก็จะสร้างกระดูกไม่ได้ถ้าขาด ฟอสฟอรัส เขาเรียกว่า เป็นการ ฟอสเฟส มันจะเข้ามาเป็นแคลเซียม ฟอสเฟส ที่ทำให้กระดูกแข็ง ถึงอย่างนั้นก็ตาม การสร้างเยื่อกระดูกก็จะต้อง อาศัยโปรตีน อาศัย ฟอสฟอรัส อาศัยแมกนีเซียม อาศัยวิตามินซี จึงจะสร้างกระดูกขึ้นมาได้ เป็นเยื่อกระดูก.

เพราะฉะนั้น การที่เรากินอะไรทางเดียว เช่น การกินวิตามินซีสำเร็จรูป กินวิตามินดี สำเร็จรูป กินไปกินมากระดูกพรุน

เพราะโดยกลไกการสร้างกระดูก เขาไม่สามารถสร้างเขาได้ มันต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่างตามที่กล่าวมา โปรตีนต้องเพียงพอ ฟอสฟอรัสต้องมี .

กระบวนการนี้ เกิดภาวะ ตั้งแต่เรื่องของอายุ โดยภาวะของอายุ เขาจะทำงานเต็มเปี่ยม เพื่อสร้างกระดูกในตอนที่อายุ ประมาณที่ 30-35 ปี หลังจากนั้นแล้ว มันจะมีปัจจัย อย่าง พาราไทรอยด์ ที่เป็นตัวสลายกระดูก พาราไทรอยด์อยู่ที่ไหน พาราไทรอยด์อยู่หลัง ต่อมไทรอยด์  ในเพศหญิงขณะที่ประจำเดือนเป็นตัวที่รักษากระดูกและสร้างกระดูก ทำให้ผู้หญิงมีกระดูกที่แข็งแรงในตอนที่ยังไม่หมดประจำเดือน แต่หลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว ตัวที่ช่วยสร้างกระดูก และ ตัวที่ช่วยรักษาแคลเซียมไว้ในกระดูก มันน้อยลงๆ ไปเรื่อยๆ ถ้ามันหมดสนิท เพราะร่างกายตรงส่วนที่เป็นรังไข่ เขาสร้าง เอสโตรเจน ฮอร์โมน.

เอสโตรเจนฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนฤทธิ์เย็นช่วยรักษากระดูก ช่วยสร้างกระดูก พอผู้หญิงหมดประจำเดือน เอสโตรเจนฮอร์โมนก็ยังคงมีอยู่ แต่ เอสโตรเจนฮอร์โมนจะไปสร้างอีกที่หนึ่ง ไปสร้างที่ต่อมหมวกไต มันจะสร้างฮอร์โมนชนิดขึ้นมา เป็นฮอร์โมนกลางๆ มีชื่อว่า DHEAs ( ฮอร์โมน DHEAs หรือฮอร์โมนดีเอชอีเอ ) (Dehydroepiandrosterone Sulfate ชื่ออื่น ๆ : DHEAS, DHEA-S, DHEA, DHEA-SO4,) เป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่มีบทบาทสำคัญในการสร้าง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชาย และ ฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง และฮอร์โมนในกลุ่มสเตียรอยด์ชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาของลักษณะทางเพศของผู้ชายในวัยแรกรุ่น)   ฮอร์โมนตัวนี้จะเปลี่ยนเป็น เอสโตรเจน หรือ อย่างอื่น มันขึ้นอยู่กับสภาวะของร่างกาย

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยปรับให้    ฮอร์โมนตัวนี้เป็น เอสโตรเจน คือ แสงแดด (แสงแดดไม่ได้ทำให้คนเป็นฝ้า สาเหตุการเป็นฝ้าที่แท้จริง เกิดจากคนเรามีเลือดที่ไม่สะอาด ) เลือดไม่สะอาดเป็นพิษ เลือดที่ไม่สะอาดเป็นพิษมาจาก ระบบขับถ่ายที่ไม่ดี .

การเป็นกระดูกบางกระดูกพรุน มันมาจากวัยก่อน เมื่ออายุ 30-35 ปี เซลล์ที่ทำงานสะลายกระดูกจะทำงาน Active ขึ้น เซลล์ในการสร้างกระดูกมันจะทำงานน้อยลง เพราะฉะนั้นเราประมาทไม่ได้. เอาแล้วไง แล้วถ้ากระดูกเรามันพรุนไปแล้ว บางไปแล้วล่ะ แล้วมันจะทำยังไง ? เราจะรู้ได้ยังไง?

จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคกระดูกพรุน

เราจะทราบมวลความหนาแน่นของกระดูกได้จากการตรวจวัดจากแพทย์ โดยทั่วไปมักนิยมตรวจกระดูกที่มีโอกาสหักได้ง่าย 3 ตำแหน่ง ได้แก่ กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar Spine) กระดูกข้อสะโพก (Hip) และกระดูกปลายแขน หรือข้อมือ (Wrist) ถ้าค่าน้อยกว่า -2.5 แปลว่ากระดูกพรุนแล้ว ส่วนใหญ่จะวัดจากส่วนกระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง เพราะเป็นตัวที่ให้ดัชนีชี้บ่งค่อนข้างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือน จะเริ่มเข้าสู่ภาวะกระดูกบาง

วิธีการวัดค่าของกระดูก เขาจะมีวิธีการวัดค่าของกระดูก โดย วัดตรงสะโพก วัดตรงข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า เพราะบริเวณนี้เป็นบริเวณที่กระดูกสลายตัวเยอะ  เช็คค่าความหนาแน่นมวลกระดูก
20% ของผู้หญิงไทยวัย 40-80 ปี เป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งระยะแรกจะไม่มีอาการใดๆ แต่ทราบได้จากการตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก
ค่าความหนาแน่นมวลกระดูกจะคำนวณเป็นค่าที่เรียกว่า T- score (T) ซึ่งใช้เป็นค่าวินิจฉัยภาวะความหนาแน่นมวลกระดูก เช็คผลได้ดังนี้

  • ค่า T score ที่มากกว่า –1 ถือว่าความหนาแน่นกระดูกปกติ
  • ค่า T score ที่อยู่ระหว่าง –1 ถึง –5 คือ กระดูกบาง (Osteopenia)
  • ค่า T score ที่น้อยกว่า –5 คือ กระดูกพรุน (Osteoporosis)

การตรวจมวลกระดูกในประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,600 – 3,200 บาทโดยประมาณในโรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายอาจน้อยกว่านี้หากตรวจกับโรงพยาบาลรัฐ .

กระดูกไม่ได้สัมผัสเฉพาะแค่โครงร่าง มันมีส่วนสัมพันธ์กับการสร้างเลือดด้วย แล้วเราจะมีวิธียังไงที่ทำให้กระดูกของเรา แข็งแรง

ภาพโดย KarinKarin จาก Pixabay

 

สาเหตุโรคกระดูกบางกระดูกพรุน สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ

  1. โรคกระดูกพรุนชนิดปฐมภูมิ(Primary osteoporosis) สาเหตุหลักเกิดจากกระดูกเอง ได้แก่

                   1.1 โรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน (Postmenopausal osteoporosis หรือ Osteoporosis type I) เกิดจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจากภาวะหมดประจำเดือนในผู้หญิง ซึ่งจะเริ่มมีอัตราเร่งของการสลายตัวของกระดูกในช่วง 10-20 ปี หลังหมดประจำเดือน พบได้ในผู้หญิงอายุประมาณ 50-65 ปี หรือ 60-70 ปี มักพบกระดูกหักบริเวณกระดูกแขนส่วนปลายและกระดูกสันหลังทรุด

                   1.2 โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ (Senile osteoporosis หรือ Osteoporosis type II) เกิดจากความเสื่อมตามอายุที่มีการสะสมอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยาวนานของการเสียสมดุลระหว่างการสร้างและการสลายของกระดูก พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 70-75 ปี มักพบกระดูกหักได้บ่อยบริเวณต้นขา ต้นแขน และสะโพก

  1. โรคกระดูกพรุนชนิดทุติยภูมิ(Secondary osteoporosis) มีสาเหตุหลักมาจากระบบอื่นที่ส่งผลกระทบมาที่กระดูก เช่น     ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน,   ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานเกิน,  ต่อมหมวกไตทำงานน้อยผิดปกติ,  ภาวะขาดเอสโตรเจน, โรคเนื้องอกของต่อมใต้สมอง, โรคเบาหวาน, โรคคุชชิง, มะเร็ง (เต้านม เม็ดเลือดขาว ต่อมน้ำเหลือง), โรคตับเรื้อรัง, โรคปวดข้อรูมาตอยด์, ต่อมเพศทำงานน้อยผิดปกติ, น้ำหนักน้อย (ผอม), ภาวะขาดสารอาหารและแคลอรี, การขาดแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูก (เช่น ขาดแคลเซียม แมกนีเซียม วิตามินดี โปรตีน),
  2. การใช้ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ (เช่น ฟูโรซีไมด์) หรือเฮพารินนาน ๆ หรือใช้ฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป, การสูบบุหรี่ (ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดลดลง), การเสพติดแอลกอฮอล์, การขาดการออกกำลังกาย การขยับเคลื่อนไหวร่างกายน้อย หรือการไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน ๆ (เช่น ผู้ป่วยพิการที่นอนติดเตียงตลอดเวลา) เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังพบว่า โรคกระดูกบางกระดูกพรุนมีความสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์อีกด้วย โดยพบว่าผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคกระดูกพรุนจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป และในบางครั้งอาจพบโรคนี้ในคนที่อายุไม่มาก โดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนก็ได้

www.detoxforlife2901.com

อยากให้ทุกๆท่านมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง