7 ช่วงเวลา ตามการรักษา ช่วย เพิ่มประสิทธิภาพ ของ”ขมิ้นชัน”ให้มากขึ้น.
มีการศึกษาพบว่าการรับประทานขมิ้นชันตามเวลาที่อวัยวะต่างๆกำลังทำงานจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของขมิ้นชันให้มีดียิ่งขึ้น.
รับประทานขมิ้นชันเวลาไหนดี นั้นเอาที่ง่ายๆก็คือเวลาไหนก็ได้แล้วแต่เราสะดวกแต่ถ้าพอทำได้ให้ดีให้ทานตามช่วงเวลาดังต่อไปนี้จะสามารถส่งเสริมอวัยวะต่างๆของเราได้มากยิ่งขึ้น.
ช่วงเวลา 03.00 – 05.00 น.
- เป็นช่วงเวลา ของปอด ช่วย ใน การ บำรุงปอด ทำให้ปอดแข็งแรง
- ช่วยป้องกันการเป็นมะเร็งปากมดลูก
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนัง และ
- ช่วยเรื่อง ภูมิแพ้ หายใจ ไม่สะดวก
หน้าที่ของปอด
- หน้าที่เกี่ยวกับ การหายใจ แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
- หน้าที่อื่น ๆ นอกจากการหายใจ
- การควบคุมและขับสารต่าง ๆ เช่น ยา แอลกอฮอล์ ออกจากระบบเลือด
- การควบคุมสมดุลของความเป็นกรด-ด่างในเลือด ซึ่งมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ และอวัยวะต่าง ๆ
- กรองลิ่มเลือด เล็ก ๆ ที่ตกตะกอนออกจากเส้นเลือดดำ
- ปกป้องและรับแรงกระแทกที่จะทำอันตรายต่อหัวใจ ซึ่งอยู่ตรงกลางช่องทรวงอก
- ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส
ช่วงเวลา 05.00 – 07.00 น.
- เป็นช่วงเวลา ของลำไส้ใหญ่ ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่
- สำหรับผู้ที่ขับถ่ายไม่เป็นเวลา หรือ รับประทานยาถ่ายมานาน
- หากรับประทานขมิ้นในช่วงนี้ จะช่วยฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ให้บีบรัดตัว เพื่อช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ
- ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ ขับถ่าย น้อย หรือ มากเกินไป และ
- ช่วยป้องกันโรคริดสีดวงทวาร
- และ ช่วยป้องกัน มะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย
- หากรับประทาน พร้อม กับ โยเกิร์ต น้ำผึ้งนมสด มะนาว หรือ น้ำอุ่น จะช่วยชะล้างผนังลำไส้ให้สะอาดได้
หน้าที่ของลำไส้ใหญ่
- ลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่รับกากอาหารที่ย่อยเสร็จแล้วจากลำไส้เล็ก เพื่อเข้าสู่กระบวนการสุดท้ายของระบบการย่อยอาหาร
- ดูดซึมน้ำและวิตามินบี 12 ที่แบคที่เรียในลำไส้ใหญ่สร้างขึ้น
- ดูดซึมแร่ธาตุและกลูโคสที่ยังหลงเหลือกลับเข้าสู่กระแสเลือด
- ผลักดันกากอาหารสู่ไส้ตรง (ลำไส้ใหญ่ส่วนสุดท้าย) เพื่อขับออกทางทวารหนักต่อไป
จะเห็นว่าลำไส้ใหญ่มีส่วนในการย่อยอาหารน้อยมาก แต่จะช่วยดูดซึมน้ำ วิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่เกิดขึ้นจากแบคทีเรีย และที่ยังเหลือเหลือจากการดูดซึมที่ลำไส้เล็กกลับเข้าสู่ร่างกาย และทำหน้าที่สุดท้ายของระบบการย่อยอาหาร ซึ่งก็คือการขับถ่ายกากอาหารออกมาทางทวารหนัก.
ช่วงเวลา 07.00 – 09.00 น.
- เป็นช่วงเวลาของ กระเพาะอาหาร
- จะช่วยลดอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด แน่นท้อง
- และ ยังช่วยแก้ อาการ ปวดเข่า ขาตึง
- บำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อม ได้อีกด้วย
- จะช่วยแก้ปัญหากระเพาะอาหารที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
หน้าที่ของกระเพาะอาหาร
- หน้าที่หลักของกระเพาะอาหารคือการย่อยสลายสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลงโดยอาศัยการทำงานของกรดเกลือ (hydrochloric acid) เพื่อให้ง่ายต่อการดูดซึม ที่ ลำไส้เล็ก
- กระเพาะอาหารยังมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ ที่ใช้ในการย่อยโปรตีน คือเอนไซม์เพปซิน โดยในช่วงแรก เอนไซม์นี้จะถูกผลิตออกมาในรูปของเพปซิโนเจน (pepsinogen) ที่ยังไม่สามารถทำงานได้ แต่จะถูกเปลี่ยนเป็นเพปซินเมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นกรดภายในกระเพาะอาหาร
- กระเพาะอาหารยังทำหน้าที่ในการดูดซึมน้ำ ไอออนต่าง ๆ รวมทั้งแอลกอฮอร์ แอสไพริน และกาแฟอีน อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หน้าที่ ของกระเพาะอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตคือการผลิตสารที่เรียกว่า intrinsic factor ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการดูดซึมวิตามินบี สิบสอง
ช่วงเวลา 09.00 – 11.00 น.
- เป็นช่วงเวลาของม้าม
- ช่วยแก้ปัญหา น้ำเหลืองเสีย
- มีแผลบริเวณปาก
- บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน โรคเกาต์
หน้าที่ของม้าม
- ม้าม เป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายถั่วแดง อยู่ทางด้านหลังข้างซ้ายของช่องท้อง ใต้กะบังลม และซี่โครง ทำหน้าที่ในการควบคุมปริมาณของเลือดในร่างกายให้คงที่ ดึงเอาฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงออกมาใช้ในร่างกาย และยังนำเอาของเสียในรูปแบบของเหลวออกมาจากเลือดด้วยเช่นกัน (ออกมาพร้อมปัสสาวะ) นอกจากนี้ม้ามยังสร้างแอนตี้บอดี้ในการต่อต้านเชื้อโรค และผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงขึ้นมาใหม่ได้อีกด้วย
ช่วงเวลา 11.00 – 13.00 น.
- ช่วงเวลาของ หัวใจ
- ช่วยบำรุงหัวใจให้มีสุขภาพแข็งแรง
หน้าที่ของหัวใจ
หัวใจ เป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย เป็นแกนกลางของชีวิต เป็นเครื่องปั่นไฟ เป็นแบตเตอร์รี่คอยส่งสัญญาณไฟฟ้ากำกับการเต้นของหัวใจอย่างมีจังหวะสม่ำเสมอ เป็นระเบียบและมี่เรี่ยวแรง เป็นเสมือนเครื่องปั๊มที่คอยปั๊มเลือดออกจากหัวใจสู่เส้นเลือดไหลไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
ช่วงเวลา 15.00 – 17.00 น.
- ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ
- ช่วยบำรุงหูรูด กระเพาะปัสสาวะ ให้แข็งแรง
- แก้อาการตกขาว และ การทำให้เหงื่อออก ช่วงเวลานี้ จะช่วยให้ร่างกายขับสารพิษออกจากร่างกายได้มาก
หน้าที่ของกระเพาะปัสสาวะ
- เป็นอวัยวะซึ่งเก็บปัสสาวะที่ไตขับถ่ายออกมาก่อนกำจัดออกจากร่างกายโดยการถ่ายปัสสาวะ .
ช่วงเวลา 17.00 น. จนถึงเวลาเข้านอน
- การรับประทานขมิ้นในช่วงนี้จะช่วงให้ความจำดีขึ้น
- เมื่อตื่นนอนจะ ไม่อ่อนเพลีย การขับถ่ายจะดีขึ้นด้วย
และ นี้ ก็ คือ เคล็ดลับ 7 ช่วงเวลา ของ คำถาม ที่ว่า รับประทานขมิ้นชันเวลาไหนดี ที่ ท่านสามารถ นำไปเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพของตัวท่านเองได้เลยค่ะ.
ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพในรายการ
เราจะได้รู้ทันโรคต่างๆ ที่มารบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเรา เพื่อ คุณภาพชีวิต ที่ดี กันนะคะ,
detoxforlife สมุนไพรเพื่อสุขภาพ