ท่านกำลังเผชิญ อาการร้อนที่ขา หรือ เกิดอาการใกล้เคียงกับอาการเหล่านี้อยู่ใช่ไหม ?
- รู้สึกวูบวาบ ปวดแสบปวดร้อนที่ขา 2 ข้าง ตั้งแต่หัวเข่า ถึง ปลายเท้า เหมือนถูกน้ำร้อนลวก หรือ ถูกพริก ชโลม แต่ไม่มีอาการบวม แดง หรือ อักเสบแต่อย่างใด กลางคืนเวลานอน ต้องใช้หมอนหนุนใต้เท้าเพื่อยกสูงขึ้น มิฉะนั้นขาจะเป็นตะคริว พอตื่นเช้ามาอาการดังกล่าวกลับหายไป
- แสบร้อนที่ขาสองข้าง แสบเหมือนไฟลวก รักษายังไงก็ไม่หายซักที
- รู้สึกร้อนที่ต้นขาด้านหน้าและด้านข้าง เป็นตอนกลางคืน ไม่ว่าจะเปิดแอร์ หรือ พัดลม เป่ายังไงก็ไม่หาย ปวดจนบางครั้งรู้สึกแสบ แต่จับแล้วก็ไม่ร้อน อุ่นเท่าร่างกายส่วนอื่น รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
- รู้สึกชา เจ็บปวด ร้อน หรือ เย็น ตาม บริเวณต่างๆ ของร่างกายแบบผิดปกติ โดย เฉพาะ บริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง แขน ขา และใบหน้า
- อาการดังกล่าว มักเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืน หรือ หลังตื่นนอนใหม่ๆ โดยมีลักษณะ ร้อนวูบวาบ หรือ ชา และ ต่อมา ก็เริ่มรู้สึกชากว่าเดิมสัมผัสอะไรก็เริ่มไม่มีความรู้สึกตรงส่วนนั้น
อาการรู้สึกแสบร้อนที่ผิวหนัง อาการร้อนที่ขาโดยที่ ผิวหนังบริเวณนั้นไม่ได้มีความผิดปกติอะไร หรือไม่ได้มีอะไรมาสัมผัส เรียกว่า มีความรู้สึกสัมผัสผิดปกติ หรือ ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (paresthesia) อาจพบอาการนี้ได้เป็นปกติ หากเป็นอยู่เพียงชั่วคราว แล้วกลับมาเป็นปกติ ซึ่งอาจเกิดจากเส้นประสาทส่วนนั้น ถูกกดทับชั่วคราว เช่นการนั่งทับ ไม่ใช่สาเหตุจากโรค แต่ถ้าเกิดขึ้นเรื่อยๆ หรือเป็นตลอดเวลา แสดงว่ามีโรคบางอย่าง เช่น
- อาจเกี่ยวข้องกับโรคปลายเส้นประสาทอักเสบ อาการร้อนวูบวาบ มักรู้สึกเจ็บปวด เจ็บแปลบ และ ชาบริเวณปลายมือ ปลายเท้า ในหน้า แขนขาโดยเฉพาะ ช่วงกลางคืน และ หลังตื่นนอน เป็น สัญญาณบ่งบอกถึงโรคปลายประสาทอักเสบ สาเหตุ เช่น การนั่งกดทับนานๆ
- ได้รับอุบัติเหตุบริเวณเส้นประสาทนั้นๆ
- การขาดวิตามิน บี1 บี 6 บี12 หรือ ไนอะซิน
- ได้รับวิตามินดีมากไป
- เป็นโรคเบาหวาน
- โรคไตเรื้อรัง
- โรคภูมิแพ้ตัวเองชนิดต่างๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคภูมิพ่วง (SLE) เป็นต้น
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- มีภาวะไทรอยด์ ฮอร์โมนต่ำ
- ผลจากการได้รับยาเคมีบำบัด ได้รับสารพิษหรือโลหะหนักเป็นต้น
- เคยเป็นโรคงูสวัดบริเวณนั้น
- ติดเชื้อ HIV มีเนื้องอกที่เส้นประสาทบริเวณนั้น
- อาการบาดเจ็บของเส้นประสาท โดยเส้นประสาทอาจเกิดความเสียหายจากอาการบาดเจ็บต่างๆ เช่นกระดูกทับเส้น หมอนรองกระดูกเคลื่อน
- อาจเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ และการรับประทานยาบางชนิดเช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ปวด ยาที่มีฤทธิ์ ขยายหลอดเลือด และยาต้านโรคซึมเศร้าเป็นต้น
- โรคที่ไขสันหลัง เช่น เนื้องอกที่ไขสันหลัง หรือ เคยได้รับอุบัติเหตุที่ไขสันหลัง
- โรคในสมอง เช่น โรคหลอดสมอง โรคสมองอักเสบ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง เป็นต้น
ถ้าหาก อาการร้อนที่ขา ยังคงมีอาการความรู้สึกสัมผัสผิดปกติ ดังกล่าวเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ แนะนำให้ไปพบแพทย์ด้านระบบประสาท เพื่อหาสาเหตค่ะ
9 วิธีในการรักษาเพื่อบรรเทาอาการแดง ระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อน ด้วยวัตถุดิบง่ายๆ ที่หาได้จากธรรมชาติ ไปดูกันเลย..
1. ลูกประคบเย็น
การศึกษาจาก American Academy of Dermatology พบว่าปัญหาผิวหนัง เช่น อาการระคายเคือง และแสบคัน เพียงใช้ลูกประคบเย็นหรือผ้าที่ห่อน้ำแข็ง นำมาประคบไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น
2. แป้งฝุ่น หรือ แป้งข้าวโพด
Georgianna Donadio, Ph.D. กล่าวว่าแป้งข้าวโพดช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง โดยให้โรยแป้งข้าวโพดบางส่วนลงไปบนผิวโดยตรง หรือ ผสมเข้ากับน้ำมันปิโตเลียมเจลเพื่อเพิ่มความหล่อลื่น อีกวิธีคือ การใช้แป้งเด็กแทนได้ เพื่อป้องกันการสกปรก ให้นำไปโรยบนผ้าเช็ดหน้า แล้วเช็ดอย่างนุ่มนวลบนผิวที่ได้ระคายเคือง
3. น้ำ กับ ข้าวโอ๊ต
การศึกษาเมื่อปี 2555 พบว่า ผลิตภํณฑ์ดูแลร่างกายที่มีธัญพืชเป็นส่วนผสม มักไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองและไม่เกิดอาการแพ้ วิธีที่ง่ายในการดูแลผิวระคายเคือง คือผสมข้าวโอ๊ตบด 2 ถ้วยลงไปอ่างน้ำอุ่น และแช่ผิวที่เกิดการระคายเคืองไว้ประมาณ 20 นาที ทำวันละครั้งจะช่วยลดปัญหาผิวหนังได้
4. น้ำมันดาวเรือง, ดอกคาโมไมล์แห้ง, ชาเขียว และน้ำ
การศึกษาที่เกิดขึ้นเมื่อปีพ. ศ. 2552 พบว่าน้ำมันดาวเรืองมีคุณสมบัติต่อต้านการอักเสบต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราได้ดี วิธีทำ คือ หยอดน้ำมันดอกดาวเรืองลงไปบนผิวที่ระคายเคือง หรืออีกวิธีคือ การนำดอกคาโมไมล์แห้ง ชาเชียว ต้มในน้ำ จากนั้นผสมลงไปในอ่างน้ำอุ่น แช่ผิวไว้ประมาณ 20 นาทีเช่นกัน
5. ว่านหางจระเข้
การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าสาร “ไกลโคโปรตีน” ใน “ว่านหางจระเข้” มีคุณสมบัติช่วยลดอาการปวดและการอักเสบ แถมยังช่วยสมานแผลผิวหนัง นอกจากนี้ยังช่วยให้เซลล์ผิวใหม่เติบโตขึ้น เนื่องจากมีความเป็นพิษต่ำ ซึ่งสามารถเจลว่านหางคระเจ้สดๆ จากต้น หรือ เจล ว่านหางจระเข้หาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป
6. เบกกิ้งโซดา กับ น้ำ
ตามที่ ดร. Mercola กล่าวไว้คือ โซดาอบมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและต้านเชื้อแบคทีเรียที่แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถช่วยคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพต่างๆ ได้ สำหรับปัญหาผิวพรรณรวมถึงผิวที่ชุ่มชื้น เพียงนำเบกกิ้งโซดาผสมลงไปในน้ำ แล้วนำส่วนผสมทาบนผิวที่มีผื่นแดงและระคายเคือง หรือิดวิะคือ การผสมเบกกิ้งโซดา และ น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ลไซเดอร์ลงไปในอ่างอาบน้ำ แช่ตัวเพลินๆ
การศึกษาด้านโมเลกุลพบว่า ขมิ้น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต่อสู้กับโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือด สำหรับผิวช่วยเพิ่มความชุ่มชื่น เพียงผสมขมิ้นผงลงไปในน้ำ นำมาทาบนผิวระคายเคืองหนาๆ ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วล้างออก
8. Tea tree oil
Tea Tree Oil คือ น้ำมันที่ได้มาจากการสกัดจากส่วนใบต้นไม้พื้นเมืองของออสเตรเลีย มีคุณสมบัติในการรักษาผิวและสิว นอกจากนั้นยังฆ่าเชื้อโรค ต้านเชื้อแบคทีเรีย และต้านการอักเสบ โดยการรักษาผิวระคายเคือง ทำได้โดย หยดน้ำมัน Tea tree oil ลงไปบนสำลีก้อน แล้วนำมาทาบริเวณผิวที่ระคายเคือง วันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
9. น้ำมันมะกอก
น้ำมันมะกอกนิยมใช้เป็นส่วนผสมในหลาย ๆ มอยส์เจอร์ไรเซอร์เพื่อรักษาผิวแห้ง ต้านการอักเสบ และให้ความชุ่นชื้น ดังนั้น จึงสามารถนำมาทาลงบนผิวที่ระคายเคือง และยังช่วยซ่อมแซมผิวที่เสียหายได้ด้วย
หวังว่าเคล็บลับการดูแลผิวที่ ปวดแสบปวดร้อนข้างต้น จะทำให้อาการทุเลาลง และผิวกลับมาเป็นปกติในเร็ววัน นะคะ
ด้วยรักและปรารถนาดีจาก
แนะนำผลิตภัณฑ์สำหรับท่านที่มองหาสมุนไพรสกัดดูแลอาการเหล่านี้
- เจลเย็น